วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556


ภัยคุกคามและการรักษาความปลอดภัยบนระบบคอมพิวเตอร์
(Threats  and Security on computer system)

 ประเภทของภัยคุกคาม
                ภัยภิบัติที่เกิดขึ้นกับระบบ (Disaster)   เป็นความเสียหายทั้งทางด้านกายภาพและด้านข้อมูล    ที่เกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์  Hardware      Programs     แฟ้มข้อมูล      และอุปกรณ์อื่น ๆ    ถูกทำลายให้ให้เกิดความเสียหาย ซึ่งที่ร้ายแรงที่สุดอาจก็คือการที่ภัยนั้นทำให้ระบบล่มไม่สามารถใช้งานได้  
ประเภทของภัยคุกคามที่เกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายนั้น   สามารถจำแนกได้ 2   ประเภท
หลัก ๆ ดังนี้
1.  ภัยคุกคามทางตรรกะ (Logical)  หมายถึง   ภัยคุกคามทางด้านข้อมูล
2.  ภัยคุกคามทางกายภาพ (Physical)  หมายถึง  ภัยที่เกิดกับตัวเครื่องและอุปกรณ์  เช่น  ภัยภิบัติจากธรรมชาติ  และภัยจากการกระทำของมนุษย์ที่ทำความเสียหายให้กับตัวเครื่องและอุปกรณ์

ภัยคุกคามทางด้านข้อมูล      
Hacker                  คือ  ผู้ที่แอบเข้าใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือองค์กรอื่น  โดยมิได้รับอนุญาต  แต่ไม่มีประสงค์ร้าย  หรือไม่มีเจตนาที่จะสร้างความเสียหายหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ใครทั้งสิ้น  แต่เหตุผลที่ทำเช่นนั้นอาจเป็นเพราะต้องการทดสอบความรู้ความสามารถของตนเองก็เป็นไปได้
Cracker                 คือ  ผู้ที่แอบเข้าใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือองค์กรอื่น  โดยมีเจตนาร้ายอาจจะเข้าไปทำลายระบบ  หรือสร้างความเสียหายให้กับระบบ Network ขององค์กรอื่น  หรือขโมยข้อมูลที่เป็นความลับทางธุรกิจ

Note :  ไม่ว่าจะเป็น  Hacker   หรือ Cracker  ถ้ามีการแอบเข้าใช้งานระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายของผู้อื่น แม้ว่าจะไม่ประสงค์ร้ายก็ถือว่าไม่ดีทั้งสิ้น  เพราะขาดจริยธรรมด้านคอมพิวเตอร์
ไวรัส (Viruses)   คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่เขียนขึ้นโดยความตั้งใจของ Programmer  ถูกออกแบบมาให้แพร่กระจายตัวเองจากไฟล์หนึ่งไปยังไฟล์อื่นๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไวรัสจะแพร่กระจายตัวเองอย่างรวดเร็วไปยังทุกไฟล์ภายในคอมพิวเตอร์   หรืออาจจะทำให้ไฟล์เอกสารติดเชื้ออย่างช้าๆ   แต่ไวรัสจะไม่สามารถแพร่กระจายจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งได้ด้วยตัวมันเอง  โดยทั่วไปแล้วจะเกิดจากการที่ผู้ใช้ใช้สื่อจัดเก็บข้อมูล เช่น Diskette คัดลอกไฟล์ข้อมูลลง Disk  และติดไวรัสเมื่อนำไปใช้กับเครื่องอื่น  หรือไวรัสอาจแนบมากับไฟล์เมื่อมีการส่ง E-mail ระหว่างกัน
หนอนอินเตอร์เน็ต  (Worms)   มีอันตรายต่อระบบมาก  สามารถทำความเสียหายต่อระบบได้จากภายใน เหมือนกับหนอนที่กัดกินผลไม้จากภายใน   หนอนร้ายเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถแพร่กระจายตัวเองจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยอาศัยระบบเน็ตเวิร์ค (ผ่านสาย Cable) ซึ่งการแพร่กระจายสามารถทำได้ด้วยตัวของมันเองอย่างรวดเร็วและรุนแรงกว่าไวรัส เมื่อไรก็ตามที่คุณสั่ง Share ไฟล์ข้อมูลผ่าน  Network  เมื่อนั้น Worms สามารถเดินไปกับสายสื่อสารได้
                Spam mail  คือ  การส่งข้อความที่ไม่เป็นที่ต้องการให้กับคนจำนวนมาก    จากแหล่งที่ผู้รับไม่เคยรู้จักหรือติดต่อมาก่อน โดยมากมักอยู่ในรูปของ E-mail    ทำให้ผู้รับรำคาญใจและเสียเวลาในการลบข้อความเหล่านั้นแล้ว Spam  mail  ยังทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตลดลงด้วย
ภัยคุกคามในการทำธุรกิจ  E- Commerce
                ในการทำธุรกิจบนระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์   อาจจะเกิดภัยคุกคามต่อเว็บไซต์ได้   จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนควรจะรู้ว่ามีภัยคุกคามใดบ้างที่อาจเกิดขึ้นกับระบบ   เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการป้องกันล่วงหน้า   ตัวอย่างภัยคุกคามที่ควรระวังสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น               
                1.  การเข้าสู่เครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น มีบุคคลอื่นแอบอ้างในการใช้ชื่อ Login Name และ  Password ในการเข้าไปทำธุรกรรมซื้อขายบน Web site แทนตัวเราเอง
               2. การทำลายข้อมูลและเครือข่าย  เช่น  Cracker  เจาะระบบเข้าไปทำลาย file และข้อมูลภายในเครื่อง Server ของ Web site ผู้ขาย  ทำให้ข้อมูลสมาชิกหรือลูกค้าของระบบเกิดความเสียหาย
               3. การเปลี่ยนแปลง    การเพิ่ม    หรือการดัดแปลงข้อมูล เช่น การส่ง Order หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในการสั่งซื้อสินค้า   หรือการที่จดหมายถูกเปิดอ่านระหว่างทาง  ทำให้ข้อมูลไม่เป็นความลับ และผู้เปิดอ่านอาจเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมข้อความในจดหมาย  เช่น การแก้ไขจำนวนยอดของการสั่งซื้อสินค้า เป็นต้น
               4. การเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต  เมื่อเราสมัครเป็นสมาชิกไว้ใน Web site ใด ๆ  Server  ของเจ้าของ Web site จะเก็บข้อมูลส่วนตัวของเราไว้   หากเจ้าของ Web  Site  ขาดจริยธรรมในการทำธุรกิจอาจนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปขายให้องค์กรอื่น  เช่น ขายข้อมูลให้กับบริษัทบัตร  Credit  เป็นต้น
               5. การทำให้ระบบบริการของเครือข่ายหยุดชะงัก  เช่น การที่  Cracker เข้ามาทำลายระบบเครือข่าย และส่งผลให้เครื่อง Server ของเจ้าของ Web site ไม่สามารถให้บริการแก่ลูกค้าของเขาได้จนกว่าระบบนั้นจะถูกแก้ไข  ดังนั้น เมื่อระบบล่มเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมง  หรืออาจจจะนานหลายวันก็จะส่งผลต่อยอดขายสินค้าบน Web ด้วย
               6. การขโมยข้อมูล  เมื่อตัวเราเองเป็นผู้ให้ข้อมูลไว้กับ Web site ที่เราจะซื้อขายสินค้า  ข้อมูลนั้นอาจถูกขโมยจากเจ้าของ Web site     จากผู้ดูแล Web  หรือจาก Cracker  ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อเขาเหล่านั้น แต่ส่งผลเสียกับตัวเรา   เพราะการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเขาของเราโดยไม่ได้รับอนุญาตถือเป็นการขโมย
               7. การปฏิเสธการบริการที่ได้รับ  เช่น ปฏิเสธว่าไม่ได้เข้าไปกรอกรายการสั่งซื้อที่ Web  site  โดยใช้ชื่อนี้หรืออ้างว่าสั่งซื้อสินค้าแล้วแต่ไม่ได้รับการจัดส่งสินค้าจาก  web site   ดังกล่าวเพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการชำระเงินค่าสินค้าส่วนที่เหลือ
               8. การอ้างว่าได้ให้บริการ  หรือ   อ้างว่าได้ส่งมอบสินค้าและบริการแล้ว
                9.  Virus ที่แอบแฝงมากับผู้ที่เข้ามาใช้บริการ  ส่งผลทำให้เครื่อง Server ของเจ้าของ web site ได้รับความเสียหาจากการที่  Virus  ทำลายข้อมูลและ file ต่าง ๆ ภายในระบบ
ภัยคุกคามบน Internet
                อันตรายหนึ่งที่คาดไม่ถึงจากอินเทอร์เน็ตที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเยาวชนไทย       เพราะอินเทอร์เน็ตยังเป็นสื่อ  Electronic  ที่มาตรการการควบคุมสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้ยังไม่ดีนัก ดังนั้น  การกระทำใด ๆ ในห้องสนทนา (Chat)  และ เว็บบอร์ด (Web board)   จึงเกิดขึ้นได้อย่างไร้ขอบเขต   จนกลายเป็นที่ระบายออกซึ่งอารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้
                ในห้องสนทนา ทุกคนสามารถคุยอะไรกับใครก็ได้ รายละเอียดต่างๆไม่มีการเปิดเผย รู้เพียงแต่ชื่อที่ใช้ในการสนทนาเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีทางรู้ได้เลยว่า เรากำลังพูดคุยอยู่กับใคร สิ่งที่คนนั้นพูดอยู่เป็นความจริงหรือไม่ ดังจะเห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์ที่อาชญากรรมที่เกิดกับวัยรุ่นสมัยนี้บางครั้งมีจุดเริ่มต้นมาจากการพูดคุยกันในห้องสนทนา (Chat Room)  บนอินเทอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น