วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

การโจมตีรหัสผ่าน(PasswordAttack)


หมายถึง การโจมตีที่ผู้บุกรุกพยายามเดารหัสผ่านของผู้ใช้คนใดคนหนึ่ง ซึ่งวิธีการเดานั้นก็มีหลายวิธี เช่น บรู๊ทฟอร์ธ (brute –Force) , โทรจันฮอร์ส (Trojan Horse), แพ็กเก็ตสนิฟเฟอร์ เป็นต้น      การเดาแบบบรู๊ทฟอร์ช หมายถึง การลองผิดลองถูกรหัสผ่านเรื่อย ๆ จนกว่าจะถูก บ่อยครั้งที่การโจมตีแบบบรู๊ทฟอร์ธใช้การพยายาม ล็อกอินเข้าใช้รีซอร์สของเครือข่าย โดยถ้าทำสำเร็จผู้บุกรุกก็จะมีสิทธิ์เหมือนกับเจ้าของแอ็คเคาท์นั้นๆ

การป้องกัน Hacker กับ Cracker



              การป้องกันที่ได้ผลดีที่สุดคือการใช้   รหัสผ่าน (Password)      และใช้ Server   ที่มีความปลอดภัยสูง (Secured Server)       ไฟร์วอลล์ (Firewall   และเราท์เตอร์ (Router   แต่ไม่ว่าจะป้องกันด้วยวิธีใดก็แล้วแต่   ก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าวิธีนั้น ๆ จะสามารถป้องกันได้  100%   ตราบใดที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นยังมีการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย

Password
              เป็นการรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานในการ Login  เข้าสู่ระบบ  โดยการตั้งรหัสผ่าน (Password)  นั้นควรมีความยาวอย่างน้อย 6  ตัวอักษร   และไม่ควรง่ายต่อการเดา     และควร Update  รหัสผ่านอยู่บ่อย ๆ ครั้ง

Firewall
              กำแพงไฟ (Firewall)   เป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์  องค์กรที่มีการเชื่อมต่อเครื่อข่ายกับภายนอก   จะใช้ Firewall    เพื่อกันคนนอกเข้ามาในเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต    ป้องกันการบุกรุกจาก Hacker และ Cracker  ที่จะทำอันตรายให้กับเครือข่ายขององค์กร    ซึ่ง Firewallจะอนุญาตให้เฉพาะข้อมูลที่มีคุณลักษณะตรงกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้   ผ่านเข้าออกระบบเครือข่ายได้
              นอกจากนี้   Firewall   ยังสามารถกรอง  Virus  ได้   แต่ไม่ทั้งหมด   และก็ไม่สามารถป้องกันอันตรายที่มาจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทุกรูปแบบได้

Clipper Chip
              เป็นวงจรฮาร์ดแวร์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จะเข้ารหัสเพื่อใช้ในการสื่อสารกันบนอินเทอร์เน็ต คลิปเปอร์ชิปได้รับการเสนอโดยรัฐบาลสหรัฐฯ    ชิปนี้ได้จัดทำขึ้นโดยที่ทางรัฐบาลสามารถถอดรหัสนี้ได้ ทำให้เกิดการโต้เถียงกันมากว่ารัฐบาลสหรัฐฯ  สามารถติดตามการติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตได้หมด
อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลสหรัฐฯ ก็อ้างว่า รัฐบาลจะถอดรหัสข้อมูลตามคำสั่งศาลเท่านั้น  

บูตเซกเตอร์ไวรัส


 Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses คือ ไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์
ของดิสก์
การใช้งานของบูตเซกเตอร์คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก
เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์
 โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็กๆไว้ใช้ในการเรียก
ระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง บูตเซกเตอร์ไวรัส
จะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว
และไวรัสประเภทนี้ ถ้าไปติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ โดยทั่วไปจะเข้าไปอยู่บริเว

ที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Parition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถ้าบูตเซกเตอร์
ของฮาร์ดดิสก์ใดมี
ไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุกๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดย พยายามเรียกดอสจากดิสก์นี้
 ตัวโปรแกรมไวรัสจะทำงา
ก่อนและจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อม
ที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา แล้วตัวไวรัส
จึงค่อยไปเรียกดอสให้ขึ้นมาทำงานต่อไป
ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

การโจมตีแบบ DOS (Denial of Service Attacks)


หมายถึง การโจมตีเซิร์ฟเวอร์โดยการทำให้เซิร์ฟเวอร์นั้นไม่สามารถให้บริการได้ ซึ่งโดยปกติจะทำโดยการใช้รีซอร์สของเซิร์ฟเวอร์จนหมด หรือ ถึงขีดจำกัดของเซิร์ฟเวอร์ ตัวอย่างเช่น เว็บ เซอร์เวอร์ และเอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ การโจมตีจะทำได้โดยการเปิดการเชื่อมต่อ (Connection) กับเซิร์ฟเวอร์จนถึงขีดจำกัดของเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ผู้ใช้คนอื่น ๆ ไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้ การโจมตีแบบนี้อาจใช้โปรโตคอลที่ใช้บนอินเตอร์เน็ตทั่ว ๆ ไป

เรื่องใกล้ตัวของการตั้ง Password

เรื่องใกล้ตัวของการตั้ง Password ประตูด่านแรกที่จะทำให้คุณสามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายได้ ก็คือรหัสและรายชื่อผู้ใช้งาน แต่สิ่งเหล่านี้กับถูกละเลย บางท่านให้ความสำคัญกับการตั้งรหัสและชื่อมาก แต่ไม่ได้มีการบันทึกเอาไว้ ตั้งชื่อที่จำยาก (เป็นสิ่งที่ดีครับ) แต่ผู้ใช้ต้องจำให้ได้ และอย่าได้เที่ยวไปวางทิ้งให้ใครต่อใครได้เก็บเอาไปใช้ล่ะ การตั้งชื่อและรหัสที่ดี ควรใช้ตัวเลขและสัญลักษณ์ตลอดจนตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมเข้าไปด้วยที่สำคัญไม่ควรจะต่ำกว่า 8 ตัว ยกตัวอย่างเช่น “e@3wer_01q5” เป็นต้น
  • เรื่องใกล้ตัวของการใช้งาน Wifi เคยสงสัยไหมว่า...ทำไมเมื่อเวลาเปิดใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่จำพวก Pocket PC, PC Mobile และอย่างโทรศัพท์มือถือ กลับทำให้แบตเตอรี่หมดเร็วกว่าปกติทั้งที่ชาร์จแบตเตอรี่ไว้เต็มก็ตาม หากคุณไม่อยากให้เกิดปัญหาเหล่านี้เมื่อไม่ใช้งานก็ควรที่จะปิดการใช้ระบบดังกล่าวซะ นอกจากจะประหยัดพลังงานแล้วยังไม่เสี่ยงด้วย ส่วนเรื่องที่ผมบอกว่าเป็นความเสี่ยง ผมขอยกเหตุการณ์ใกล้ๆตัวขึ้นมาอีกนิดก็แล้วกัน คุณทราบหรือไม่ว่าการเปิดไวไฟ (Wifi) มีความเสี่ยงเรื่องของระบบความปลอดภัยที่สามารถทำให้แฮกเกอร์เข้ามาเจาะข้อมูลของคุณได้อย่างสบาย เมื่อคุณทำการเปิดระบบนี้ขึ้นมา mode ad hoc Network จะมีการเชื่อมต่อแบบไร้สายให้ทันที และสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้โดยไม่ต้องใช้สื่อบันทึกข้อมูลใดๆ เลย ไม่ว่าจะเป็น CD, USB, Flash Drive เป็นต้น เพียงแค่ผู้ใช้และผู้เจาะระบบปรับสัญญาณเข้ามาตรงกัน เปรียบเสมือนการเปิดวิทยุและทำการหมุนหาคลื่น หากคลื่นตรงกับสถานีคุณก็จะได้ยินเสียงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงคนจัดรายการ หรือเสียงเพลงต่างๆ เป็นต้น
  • ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

    Firewall
    มีหน้าที่ป้องกันการโจมตีหรือสิ่งไม่พึงประสงค์บุกรุคเข้าสู่ระบบ Network ซึ่งเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยภายในระบบ Network เป็นการป้องกันโดยใช้ระบบของ Firewall กำหนดกฏเกณฑ์ควบคุมการเข้า-ออก หรือควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล ในระบบ Network
  • ประเภทของภัยคุกคาม



    Hacker                  คือ  ผู้ที่แอบเข้าใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือองค์กรอื่น  โดยมิได้รับอนุญาต  แต่ไม่มีประสงค์ร้าย  หรือไม่มีเจตนาที่จะสร้างความเสียหายหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ใครทั้งสิ้น  แต่เหตุผลที่ทำเช่นนั้นอาจเป็นเพราะต้องการทดสอบความรู้ความสามารถของตนเองก็เป็นไปได้
    Cracker                 คือ  ผู้ที่แอบเข้าใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือองค์กรอื่น  โดยมีเจตนาร้ายอาจจะเข้าไปทำลายระบบ  หรือสร้างความเสียหายให้กับระบบ Network ขององค์กรอื่น  หรือขโมยข้อมูลที่เป็นความลับทางธุรกิจ

    Note :  ไม่ว่าจะเป็น  Hacker   หรือ Cracker  ถ้ามีการแอบเข้าใช้งานระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายของผู้อื่น แม้ว่าจะไม่ประสงค์ร้ายก็ถือว่าไม่ดีทั้งสิ้น  เพราะขาดจริยธรรมด้านคอมพิวเตอร์
    ไวรัส (Viruses)   คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่เขียนขึ้นโดยความตั้งใจของ Programmer  ถูกออกแบบมาให้แพร่กระจายตัวเองจากไฟล์หนึ่งไปยังไฟล์อื่นๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไวรัสจะแพร่กระจายตัวเองอย่างรวดเร็วไปยังทุกไฟล์ภายในคอมพิวเตอร์   หรืออาจจะทำให้ไฟล์เอกสารติดเชื้ออย่างช้าๆ   แต่ไวรัสจะไม่สามารถแพร่กระจายจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งได้ด้วยตัวมันเอง  โดยทั่วไปแล้วจะเกิดจากการที่ผู้ใช้ใช้สื่อจัดเก็บข้อมูล เช่น Diskette คัดลอกไฟล์ข้อมูลลง Disk  และติดไวรัสเมื่อนำไปใช้กับเครื่องอื่น  หรือไวรัสอาจแนบมากับไฟล์เมื่อมีการส่ง E-mail ระหว่างกัน
    หนอนอินเตอร์เน็ต  (Worms)   มีอันตรายต่อระบบมาก  สามารถทำความเสียหายต่อระบบได้จากภายใน เหมือนกับหนอนที่กัดกินผลไม้จากภายใน   หนอนร้ายเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถแพร่กระจายตัวเองจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยอาศัยระบบเน็ตเวิร์ค (ผ่านสาย Cable) ซึ่งการแพร่กระจายสามารถทำได้ด้วยตัวของมันเองอย่างรวดเร็วและรุนแรงกว่าไวรัส เมื่อไรก็ตามที่คุณสั่ง Share ไฟล์ข้อมูลผ่าน  Network  เมื่อนั้น Worms สามารถเดินไปกับสายสื่อสารได้
                    Spam mail  คือ  การส่งข้อความที่ไม่เป็นที่ต้องการให้กับคนจำนวนมาก    จากแหล่งที่ผู้รับไม่เคยรู้จักหรือติดต่อมาก่อน โดยมากมักอยู่ในรูปของ E-mail    ทำให้ผู้รับรำคาญใจและเสียเวลาในการลบข้อความเหล่านั้นแล้ว Spam  mail  ยังทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตลดลงด้วย
    ภัยคุกคามในการทำธุรกิจ  E- Commerce
                    ในการทำธุรกิจบนระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์   อาจจะเกิดภัยคุกคามต่อเว็บไซต์ได้   จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนควรจะรู้ว่ามีภัยคุกคามใดบ้างที่อาจเกิดขึ้นกับระบบ   เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการป้องกันล่วงหน้า   ตัวอย่างภัยคุกคามที่ควรระวังสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

    ระวัง!! นี่คือ 8 ภัยคุกคามจากแฮกเกอร์ที่อาจเกิดในปีนี้




    มีรายงานของ เชค พอยต์ ที่คาดการณ์แนวโน้มภัยคุกคามระบบรักษาความปลอดภัยในปี 2556 โดยนายราลินแกม โซกาลินแกม ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียใต้ บริษัท เชค พอยต์ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด ที่ระบุว่า ในขณะที่บริษัทต่างๆ จัดเตรียมแผนธุรกิจงานด้านไอทีสำหรับปีใหม่นี้ บรรดาอาชญากรไซเบอร์เองก็กำลังเดินหน้าปรับใช้ภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยตั้งเป้าหมายไปที่ระบบคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะและองค์กรทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก

    โดยในรอบปีที่ผ่านมาองค์กรธุรกิจต้องประสบกับปัญหาด้านการละเมิดและการเจาะระบบที่ร้ายแรงหลายอย่าง แน่นอนว่าทั้งผู้โจมตีและองค์กรธุรกิจจะต้องพัฒนาอาวุธที่จะนำมาใช้เพื่อต่อกรระหว่างกันอย่างต่อเนื่องในปี2556โดยที่ฝ่ายไอทีและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยจะต้องสามารถเอาชนะกลวิธีและแนวทางต่างๆ ที่แฮกเกอร์กำลังปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย จึงจะสามารถปกป้ององค์กรของตนเองเอาไว้ได้

    สำหรับภัยคุกคามและแนวโน้มของระบบรักษาความปลอดภัย ที่ทางเชค พอยต์คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ มีดังนี้

    ภัยคุกคามที่ 1 : วิศวกรรมสังคม
    เริ่มต้นด้วยกลวิธีแบล๊กแฮตที่มีรูปแบบท้าทายหรือเชื้อเชิญให้เหยื่อหลงเชื่อและดำเนินการตามที่ต้องการทั้งในโลกจริงและโลกดิจิตอลหรือที่เรียกว่าวิศวกรรมสังคมก่อนที่ยุคคอมพิวเตอร์จะเฟื่องฟู หมายถึงการล่อลวงความลับของบริษัทด้วยการใช้วาจาที่แยบยล แต่ขณะนี้วิศวกรรมสังคมได้ย้ายเข้าสู่เครือข่ายสังคมออนไลน์แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ LinkedIn

    ปัจจุบันผู้โจมตีได้ใช้เทคนิควิศวกรรมสังคมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งร้ายแรงกว่าการล่อลวงพนักงานที่ตกเป็นเป้าให้บอกข้อมูลส่วนตัวออกมา แต่ช่วงปีที่ผ่านมาบรรดาผู้โจมตีได้ใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยังพนักงานต้อนรับและขอให้โอนสายไปยังพนักงานที่ตกเป็นเป้าหมายเพื่อที่จะให้เห็นว่าการติดต่อนั้นเกิดขึ้นจากภายในองค์กรแต่วิธีดังกล่าวอาจไม่จำเป็นในกรณีที่รายละเอียดซึ่งอาชญากรไซเบอร์กำลังต้องการได้รับการโพสต์ไว้แล้วบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ซึ่งจะเห็นได้ว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์กลายเป็นที่น่าสนใจอย่างมากเพราะมีการเชื่อมโยงบุคคลและองค์กรต่างๆเข้าด้วยกัน และแต่ละคนก็มีเพื่อนหรือผู้ร่วมงานติดตามโปรไฟล์อยู่จำนวนมากพอที่จะสร้างให้เกิดกลลวงด้านวิศวกรรมสังคมขึ้นได้

    ภัยคุกคามที่2 : ภัยคุกคามแบบต่อเนื่องขั้นสูง (AdvancedPersistent Threats : APT)

    มัลแวร์ที่ตั้งเป้าหมายการโจมตีไปที่องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เรียกว่าเป็นภัยคุกคามแบบต่อเนื่องขั้นสูงที่มีความซับซ้อนระดับสูงและได้รับการสร้างขึ้นมาอย่างพิถีพิถันโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้รับสิทธิในการเข้าถึงเครือข่ายและทำการขโมยข้อมูลอย่างเงียบๆ ในลักษณะของการโจมตีแบบค่อยเป็นค่อยไป ที่มักจะยากต่อการตรวจจับ ทำให้โอกาสที่การโจมตีในรูปแบบนี้จะประสบผลสำเร็จสูงมาก

    ภัยคุกคามที่ 3 : ภัยคุกคามภายใน

    การโจมตีที่เป็นอันตรายที่สุดบางอย่าง มักจะเกิดจากภายในองค์กรและสามารถสร้างความเสียหายได้ในระดับสูงสุดตามระดับสิทธิที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและดำเนินการกับข้อมูลได้โดยจากการศึกษาภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐอเมริกา,ศูนย์ป้องกันภัยคุกคามภายในของ CERT จากสถาบันวิศวกรรมซอฟต์แวร์ของมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน และหน่วยตำรวจลับสหรัฐอเมริกา พบว่าบุคลากรภายในองค์กร (โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเงิน) ที่กระทำความผิดสามารถรอดพ้นจากความผิดของตนได้ยาวนานเกือบ 32 เดือน ก่อนที่จะได้รับการตรวจพบแม้ว่าความไว้วางใจจะเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งแต่ความไว้วางใจมากเกินไปก็อาจทำให้คุณตกอยู่ในอันตรายได้เช่นกัน

    ภัยคุกคามที่ 4 : การใช้อุปกรณ์ส่วนตัว หรือ BYOD

    ปัจจุบันองค์กรธุรกิจจำนวนมากพยายามจะปรับใช้นโยบายและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในลักษณะผสมผสานเพื่อจัดการกับปรากฏการณ์การนำอุปกรณ์ส่วนตัวเข้ามาใช้งาน(bring-your-own-device : BYOD) ที่มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการเปิดรับการโจมตีผ่านเว็บเช่นเดียวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปของตน

    ภัยคุกคามที่ 5 : การรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์


    มีบริษัทเป็นจำนวนมาก (และมากขึ้นเรื่อยๆ) กำลังวางข้อมูลของตนไว้ในบริการคลาวด์สาธารณะเพิ่มมากขึ้นบริการเหล่านี้จึงตกเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจและอาจเป็นจุดสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบปัญหาได้เช่นกันสำหรับองค์กรธุรกิจแล้วระบบรักษาความปลอดภัยยังคงเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเมื่อต้องเจรจากับผู้ให้บริการระบบคลาวด์และเป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรธุรกิจจะต้องทำให้เกิดความชัดเจนที่สุดด้วย

    ภัยคุกคามที่ 6 : HTML5

    การนำการประมวลผลแบบคลาวด์เข้ามาใช้งานได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการโจมตีไปอย่างมากส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการนำHTML5เข้ามาใช้งานนั่นเอง จากงานประชุมแบล๊กแฮตในช่วงต้นปีนี้ ซึ่งเป็นเวทีที่รวมบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยมาไว้ด้วยกันนั้นทำให้เราได้รับทราบถึงสัญญาณการโจมตีที่จะเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากและพบด้วยว่าความสามารถด้านการรองรับการทำงานข้ามแพลตฟอร์มของHTML5และการผสานรวมของเทคโนโลยีต่างๆ ได้เปิดโอกาสให้เกิดการโจมตีใหม่ๆ ขึ้นเช่น การใช้ฟังก์ชั่น Web Worker ในทางที่ไม่ถูกต้องแม้ว่าจะมีความระมัดระวังในการใช้งาน HTML5 มากขึ้นแต่เนื่องจากสิ่งนี้เป็นสิ่งใหม่จึงมีโอกาสที่นักพัฒนาจะดำเนินการผิดพลาดและเปิดช่องให้ผู้โจมตีจะใช้ประโยชน์จากความผิดพลาด

    ดังกล่าวได้ดังนั้นเราจึงจะได้พบการโจมตีที่พุ่งเป้าไปที่HTML5 เพิ่มขึ้นในปีหน้าอย่างแน่นอนแต่ก็คาดหวังว่าจะค่อยๆ ลดลงเมื่อมีการปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

    ภัยคุกคามที่ 7 : บ็อตเน็ต


    แม้ว่าการแข่งขันพัฒนาอาวุธป้องกันระหว่างนักวิจัยและผู้โจมตีจะนำไปสู่นวัตกรรมเป็นจำนวนมากแต่ก็คาดกันว่าอาชญากรไซเบอร์จะทุ่มเทเวลาอย่างหนักเพื่อพัฒนาสิ่งที่ดีที่สุดเช่น การทำให้แน่ใจว่าบ็อตเน็ตของตนจะมีความพร้อมใช้งานและสามารถแพร่กระจายได้ในระดับสูงขณะที่มาตรการจัดการที่นำเสนอโดยบริษัทต่างๆเช่น ไมโครซอฟท์ก็อาจทำได้เพียงแค่หยุดการทำงานของสแปมและมัลแวร์ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้นเนื่องจากผู้โจมตีไม่ได้หยุดที่จะเรียนรู้เทคนิคการจัดการดังกล่าวอีกทั้งยังได้นำสิ่งที่เรียนรู้ได้มาเสริมความสมบูรณ์ให้กับอาวุธร้ายของตนด้วยและแน่นอนว่าบ็อตเน็ตจะยังคงอยู่ที่นี่ตลอดไป

    ภัยคุกคามที่ 8 : มัลแวร์ที่มีเป้าหมายอย่างแม่นยำ

    ผู้โจมตีกำลังเรียนรู้ขั้นตอนต่างๆ ที่นักวิจัยใช้ในการวิเคราะห์มัลแวร์และแนวทางนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าผู้โจมตีสามารถพัฒนามัลแวร์ที่สามารถหลบหลีกการตรวจวิเคราะห์ได้อย่างดีเยี่ยมตัวอย่างของการโจมตีเหล่านี้ รวมถึง Flashback และ Gauss โดยมัลแวร์ทั้งสองสายพันธุ์นี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเฉพาะ Gauss ที่สามารถหยุดนักวิจัยไม่ให้ดำเนินการ

    วิเคราะห์มัลแวร์ได้โดยอัตโนมัติและในปีที่กำลังจะมาถึงนี้ ผู้โจมตีจะยังคงเดินหน้าปรับปรุงและปรับใช้เทคนิคเหล่านี้รวมทั้งยังจะพัฒนาให้มัลแวร์ของตนมีความซับซ้อนยิ่งขึ้นเพื่อที่จะได้สามารถพุ่งเป้าโจมตีไปที่คอมพิวเตอร์ที่มีการกำหนดค่าไว้อย่างเฉพาะได้

    สิ่งที่แน่นอนสำหรับปี2556ก็คือ จะมีการโจมตีและการแพร่ระบาดของมัลแวร์ผ่านทางพาหะที่ครอบคลุมเครือข่ายสังคมไปจนถึงอุปกรณ์มือถือของพนักงานในองค์กรเนื่องจากการรักษาความปลอดภัยสำหรับคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการจะยังคงได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องพร้อมๆกับเทคนิคใหม่ๆ ของอาชญากรไซเบอร์ที่พยายามเลี่ยงผ่านการป้องกันเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม เหตุผลสำคัญกว่านั้นก็คือการสร้างโซลูชั่นความปลอดภัยเดียวที่สามารถจัดการภัยคุกคามต่างๆ ได้อย่างครอบคลุมที่เรากำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้